วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
 ครั้งที่ 5 วันที่ 19 กันยายน 2557
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 

ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

                           ก่อนเข้าสู่การเรียน อาจารย์เอาภาพ 1 ภาพมานักศึกษาให้ดูก่อนและอาจารย์บอกว่าให้วาดรูปภาพที่สอดคล้องกันให้อยู่ในระดับเดียวกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และดิฉันก็ได้วาดรูปด้านหนึ่งเป็นกระถางและ อีกด้านหนึ่งเป็นดอกไม้ 

สื่อหมุนๆรวมภาพ
            อุปกรณ์ในการทำ 
  •  กระดาษทรงสี่เหลื่อมผืนผ้า        
  • กรรไกร (Scissors)           
  •  เทปกาว (Tape)         
  • ไม้เสียบลูกชิ้น
  •   ดินสอ (pencil)
  •  สี (color)

           
      วิธีการทำ
1.      ตัดกระดาษเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยตัดเป็น 1 ส่วน 4 ของกระดาษ A4
2.      พับครึ่งกระดาษเพื่อที่จะได้วาดรูป 
3.      วาดภาพที่สัมพันธ์กันลงไปทั้งสองด้านของกระดาษ
4.      ใช้ไม้เสียบลูกชิ้นไว้ที่กึ่งกลางกระดาษแล้วเอาเทปกาวแปะให้แน่น จากนั้นก็นำเทปกาวมาแปะตรงมุมขอบกระดาษเพื่อที่จะได้ไม่หลุดเวลาหมุน


      สรุปจากการทำสื่อหมุนๆรวมภาพ

              เมื่อทำสื่อชิ้นนี้เสร็จเรียนร้อยดิฉันก็ได้สังเกตุทั้งสองด้าน และได้ลองหมุนดูผลปรากฎว่าภาพทับซ้อนกันซึ่งแตกต่างจากของเพื่อนที่เป็น เหมือนรูปเดียวกันเวลาหมุนไม้ จากภาพจะเห็นได้ว่าการวาดรูปอยู่กึ่งกลางกระดาษพอดี และรูปภาพมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกัน 
              จากกิจกรรมทำให้ดิฉันได้เกิดการเรียนรู้จากการลองผิด ลองถูก  จากการสอบถามเพื่อนบางคนที่สามารถทำสื่อชิ้นี้ออกมาได้สวยงามเพราะว่า เพื่อนมีประสบการณ์เดิมก่อนอยู่แล้วและบางคนได้ได้ทักษะการสังเกตุจากต้น ชั่วโมงที่อาจารย์ยกมาให้ดูเป็นตัวอย่าง
   
     ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำสื่อหมุนๆรวมภาพ
1.      เกิดการเรียนรู้จากการที่เราทำไม่ถูกต้อง
2.      การที่จะทำสื่อวิทยาศาสตร์ต้องมีทักษะช่างสังเกตุมากกว่านี้และต้องคิดละเอียดรอบครอบผลงานจึงจะออกมาดี
3.      สามารถนำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
       
          การนำเสนอ บทความวิทยาศาสตร์ (Science Article)



     1. เด็กปฐมวัยเรียนรู้ " สะเต็มศึกษา" 
ผ่านโครงงานปฐมวัย (Childhood Project)

    จัดโครงการโดย สสวท. จัดกิจกรรมขึ้นเพื่อให้ เด็กได้รู้จักการแก้ปัญหา 

    (Learning to solve a problem) 
และการแสวงหาความรู้(Seek knowledge )


     คำว่า " STEM " มาจาก  S > Science
                                              T >Technology
                                               E > Engineer
                                               M > Math
    
แนวคิด 

1. ครูเน้นการบูรณาการ

2. ครูเน้นการเชื่อโยงกับเนื้อหา

3. พัฒนาทักษะ

4. ท้าทายความสามารถ

5. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น
     
         2. เด็กปฐมวัยไขคำตอในวันวิทยาศาสตร์น้อย ในหัวข้อ
              " โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร" 
                        จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2556
·       เน้นการสร้างประสบการณ์ (Experience) และการเรียนรู้ (Learning)
·       กระตุ้นการเรียนรู้ และค้นหาคำตอบไปพร้อมกัน (Solve)
·       ปลูกฝังวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
·       สอนให้เด็กตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร อย่างยั่งยืน


  3. บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์
 พ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง จัดค่ายวิทยาศาสตร์ 

เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้
และปลูกฝังการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก 

ซึ่งเด็กปฐมวัยเป็นช่วงแห่งการเรียนรู้
 เด็กได้สังเกตค้นหาคำตอบในสิ่งที่ตนเองอยากรู้ 

ด้วยการทดลองทางวิทยาศาสตร์
 รู้จักการแก้ปัญหาด้วยตนเองทำให้เด็กรักในการเรียนวิทยาศาสตร์


   
การนำไปประยุกต์ใช้
     ·     สามารถจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในเรื่องที่เด็กสนใจ   
     ·     สอนให้เด็กได้คิด และค้นหาคำตอบ ด้วยตนเอง โดยการประดิษฐ์หรือการทดลอง
     ·     สามารถศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตนเองโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง 
     ·   ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ คือเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง
     ·      สามารถนำการถามโดยใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก เพื่อการคิด และเข้าใจที่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น