วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ

“STEM” คืออะไร

ผศ.ดร.ชลาธิป  สมาหิโต  ได้ให้คำจำกัดความของ STEM ไว้ว่า  เป็นการจัดการศึกาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี   วิศวกรรมศาสตร์  และคณิตศาสตร์  โดยนำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละวิชามาผสมผสานปละจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน  ซึ่งชื่อของ “STEM” เกิดจากการย่อชื่ออักษรตัวแรกของ  4  สาระวิชาเข้าด้วยกันคือ
                1.Science หมายถึง  วิทยาศาสตร์
                2.Technology  หมายถึง  เทคโนโลยี
                3.Engineering  หมายถึง  วิศวกรรมศาสตร์
                4.Mathematic  หมายถึง  คณิตศาสตร์

                สรุปแล้ว STEM กำเนิดขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาศักยภาพทั้ง 4 ด้านของเด็กให้มีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การพัฒนาความรู้ในระดับสูงขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันกันในสังคมเศรษฐกิจของประเทศและเป็นการต่อยอดโอกาสในการเรียนรู้ หรือการทำงานของประชากรในอนาคตต่อไป

                ดังนั้นการบูรณาการเรื่อง STEM  สู่การเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยจึงไม่ใช่เรื่องยากเพียงแค่ครูจัดกิจกรรมหรือสร้างสถานการณ์ต่างๆแล้วกำหนดปัญหาขึ้นมาให้เด็กได้ฝึกฝนการแก้ปัหา  เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้คิด  ได้แสดงความสามารถที่หลากหลาย  หากผลการทลองหรือการแก้ปัญหาที่เด็กค้นพบนั้นยังไม่ถูกต้องตามที่ครูกำหนดไว้ ครูควรให้เด็กได้ทดลองหรือปฏิบัติซ้ำเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง โดยครั้งนี้ครูอาแนะนำหาความรู้เพิ่มเติมให้แก่แก่เด็ก เพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น  นอกจากนี้ครูยังสามารถนำ STEM มายูรณาการกับทักษะในด้านอื่นๆ ได้อีก เช่น การจัดการศึกษาแบบ STEM Education ที่มีการนำ STEM มาบูรณาการกับทั้กษะทางศิลปะ  เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้นๆให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น

                ด้วยเหตุนี้ “STEM Education”  จึงเป็นการศึกษาที่เหมาะกับการเรียนการสอนของเด็กยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ด้วยเนื้อหาที่มีความแปลกใหม่ และเป็นการบูรณาการสาขาวิชาแนงต่างๆเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว จึงไม่น่าแปลกที่ “STEM Education” จะเป็นการศึกากระแสใหม่ที่กำลังมาแรงของวงการการศึกษาในบ้านเรา

สรุปวิจัย

ชื่อวิจัย   การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปบมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ชื่อผู้แต่ง  นางณัฐชุดา  สาครเจริญ

ต้องการพัฒนาอะไร
ต้องการพัฒนาการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปบมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ขั้นตอนการทำ 
1.ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยกำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสามเสนนอก  (ประชาราษฎร์อนุกูล)   (Pretest) ก่อนการทดลอง
2.ผู้วิจัยทำการดำเนินการทดลองในกิจกรรมเสริมประสบการณ์
3.เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการประเมินทักาะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย (Posttest) หลังเสร็จสิ้นการทดลองโดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่ใช้ในการทดสอบก่อนการทดลอง
4.นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยมาตรวจให้คะแนนและนำไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติต่อไป                      

ผลที่ได้รับ

 การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้โดยรวมและการจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับดี และเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองพบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01





สรุปโทรทัศน์ครู
เรื่อง การกำเนิดของเสียง

โรงเรียนดาราคาม

ครู สง่า  ทรัพย์เฮง

-ขั้นตอนการสอน

การสอนของครูสง่า เป็นการจัดกิจกรรมการทดลอง คือ ครูสง่านำแท่งโลหะ 2 แท่ง  และช้อนซ้อน 2 อัน มาให้นักเรียนสลับกันเคาะ หลังจากนั้นก็ฝึกให้นักเรียนมีได้ฟัง ได้สังเกต และได้คิด โดยให้นักเรียนฝึกตอบคำถาม ว่ามีเสียงที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร และเสียงมาจากแหล่งไหนได้บ้าง

-สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้

เด็กได้ทราบถึงการกำเนิดของเสียง คือเสียงเกิดจากการสั่นของมวลเนื้อวัตถุ  เมื่อมวลเนื้อวัตถุถูกเคาะแล้วเกิดการสั่นสะเทือนจึงทำให้เกิดเสียงออกมาให้ได้ยิน จากการทดลองนี้เด็กได้ประสบการณ์เกี่ยวกับทักษะทางวิทยาศาสตร์ คือได้ทดลองรู้จักคิด  ฟัง และสังเกต ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปปรับประยุกต์ใช้ได้จริงได้ในชีวิตประจำวันได้

-สิ่งที่เด็กได้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ได้ทักษะการฟัง
ได้ทักษะการคิด
ได้ทักษะการสังเกต
ได้ทักษะการทดลองและการตอบคำถาม





วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 16 วันที่ 4 ธันวาคม  2557

ความรู้ที่ได้รับในการเรียน
การนำเสนองานวิจัย (Research Report)
งานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย
 ผู้วิจัย        นงลักษณ์ บุญระชัยสวรรค์
 กิจกรรมไข่หมุน
- ทักษะวิทยาศาสตร์  การสังเกตและการเปรียบเทียบ   

เมื่อนำเสนอวิจัยเสร็จ อาจารย์ก็ให้นักศึกษาทำแผ่นพับ โดยแบ่งกลุ่มตามแผ่น ข่าวประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ปกครอง เกี่ยวกับเรื่องที่นักเรียนกำลังเรียนที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆให้เพียงพอโดยครูควรมีการประชาสัมพันธ์กับผู้ปกครองอย่างไร ในการขอความร่วมมือในการจัดทำกิจกรรมในครั้งนี้

เทคนิควิธีการสอน (Teaching Methods)
1. การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิด
2.  การเรียนรู้ด้วยตนเองลงมือทำด้วยตนเอง
3. การให้ฝึกให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์

การนำไปประยุกต์ใช้  (Applied)
1. สามารถนำเทคนิคการจัดกิจกรรมต่างๆไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้อย่างถูกต้อง
2.  มีเทคนิคในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์วิทยาศาสตร์
3.  สามารถจัดให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรมของเด็กได้โดยการขอความอนุเคราะห์ขออุปกรณ์ในการทำกิจกรรมต่างๆ



บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 15 วันที่ 27 พฤศจิกายน  2557


 ความรู้ที่ได้รับในการเรียน (Knowle)
วันนี้ได้เริ่มเรียนโดยการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูเพื่อนได้สรุปวิจัยและโทรทัศน์มานำเสนอให้เพื่อนในห้องได้ฟังดังนี้

การนำเสนองานวิจัย (Research Report)
งานวิจัยเรื่องที่1 การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  ทักษะทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านประสาทสัมผัส มี 4 ทักษะ
          - การสังเกต
          - การจำแนก
          - การวัด
          - มิติสัมพันธ์

 งานวิจัยเรื่องที่2 ผลการจัดประสบการณ์เน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
-ทักษะทางวิทยาศาสตร์    การสังเกต   การประมาณ   การเปลี่ยนแปลง
-ครูแนะนำกิจกรรม ครูบอกเด็กว่าจะพาไปเที่ยวรอบโรงเรียนให้เด็กส่องสิ่งที่มองเห็น
- ครูให้เด็กส่องดูผ่านแว่นแล้วมองดูผ่านตา
- ครูให้เด็กวาดภาพ จากสิ่งที่มองเห็น
- ครูใช้คำถาม เด็กมองเห็นวัตถุของจริง เด็กมองเห็นเป็นอย่างไร และเด็กมองผ่านแว่นเป็นอย่างไร

งานวิจัยเรื่องที่3 การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
- การคิดเชิงเหตุผล มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และเป็นทักษะพื้นฐาน
-เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
- การคิดเชิงเหตุผลมี 3 อย่างคือ
-การจำแนกประเภท
- การจัดประเภท
- ด้านอนุกรม
-หน่วยสนุกน้ำ
-หน่วยอากาศแสนสนุก
-หน่วยพืชน่ารู้
-หน่วยพลังงานแสนกล
-หน่วยเรียนรู้ธรรมชาติ
-หน่วยฉันคือใคร

 งานวิจัยเรื่องที่4 ผลของกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนก
-ทักษะทางวิทยาศาสตร์  การสังเกต การจำแนก การวัด การสื่อความหมาย การลงความเห็น  มิติสัมพันธ์

การนำเสนอโทรทัศน์ครู
1.   เรื่อง เสียงมาจากไหน
2.   เรื่อง สอนวิทย์ คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
3.   เรื่อง เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
4.  เรื่อง หน่วยไฟ
5.  เรื่อง  ขวดปั๊มและลิปเทียน
6.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง สีของกะหล่ำปลี
7.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง พลังจิตคิดไม่ซื่อ
8.  นมสีจากน้ำยาล้างจานสำหรับเด็กปฐมวัย
9.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง  ทะเลฟองสีรุ้ง
10.  สนุกคิดวิทย์ทดลอง
11.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง ทอนาโดมหาภัย
12.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง  ความลับของใบบัว
13.  การทดลองความแข็งของวัตถุ


เทคนิควิธีการสอน (Teaching Methods)
1. การใช้คำถามปลายเปิด
2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง
3. การให้ฝึกให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์

การนำไปประยุกต์ใช้  (Applied)
1. สามารถนำวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกทักษะวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
2. สามารถนำเทคนิคการจัดกิจกรรมในวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอไปจัดให้เหมาะสมกับเด็กได้เป็นอย่างดี

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

ครั้งที่ 14 วันที่ 20 พฤศจิกายน  2557
ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

         การเรียนในวันนี้ก่อนนำเสนองานวิจัยมีกิจกรรมการแยกประเภทของสื่อการสอน และมี ประเภทดังนี้
-แรงลม (wind power)
-การหมุน (rotation)
-พลังงาน (energy)
-น้ำ (water)
-เสียง (sound)
-มุมเสริมประสบการณ์

การนำเสนองานวิจัย (Research Report)
1.งานวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานผ่านกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
-  จัดโดยผ่านกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด
 ทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กจะได้รับจากกิจกรรม
-  การจำแนก
-  การวัด
-  มิติสัมพันธ์
-  การลงความเห็น
-  กางสังเกต
-  การสื่อสาร
  กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
-ศิลปะเลียนแบบ
-ศิลปะปรับภาพ
-ศิลปะบูรณาการ
-ศิลปะค้นหา
-ศิลปะภาพเหมือน
-ศิลปะย้ำ
2. งานวิจัยเรื่อง ผลการประกอบประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย

3. งานวิจัยเรื่อง ผลของการจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย
 -จัดกิจกรรมเป็นหน่วยการเรียนรู้
ทักษะการจำแนก
       การจัดกลุ่มหาลำดับ เรียงลำดับ  การหามิติสัมพันธ์ สถานที่ต่างๆ สิ่่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก โดยมีเกณฑ์ความเหมือนความต่าง ใช้เครื่องมือวัด คือแบบการประเมินทักษะการจำแนก
4. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
-การสังเกต
-การจำแนก
-การสื่อความหมาย
-มิติสัมพันธ์

 สรุปความรู้ที่ได้จากการนำเสนองานวิจัย
-ได้รับความรู้ใหม่ๆ ที่นอกเหนือจากที่อาจารย์สอน
-ได้รู้ทางวิทยาศาสตร์กิจกรรมที่หลากหลาย
-นำกิจกรรมหรือวิธีการทดลองจากงานวิจัยไปจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้จริง
-ได้รู้จักแผนการสอนที่หลากหลายและสามารถนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้

กิจกรรมการทำวาฟเฟิล (Waffle)
อุปกรณ์มีดังนี้
-แป้ง (flour)
-ไข่ (eggs)
-เนย (butter)
-เตา (stove) สำหรับทำ waffle
-ถ้วย (cup)
-จาน (plate)
-ช้อน (spoon)
-น้ำ (water)

ขั้นตอนการทำ
-แบ่งกลุ่มให้เท่าๆกัน
-ครูเตรียมอุปกรณ์ในการทำและแบ่งอุปกรณ์เป็นชุดๆ
-ขอตัวแทนมาหยิกอุปกรณ์ที่ครูเตรียมไว้
-ครูบอกขั้นตอนการทำ ถ้าเป็นเด็กปฐมวันก็ต้องสาธิตให้ดู
-ตอกใข่(eggs)และเนย(butter)ใส่ลงไปในถ้วยแล้วตีไข่(eggs)ให้เป็นเนื้อเดียวกัน
-เทแป้ง(flour)ใส่ลงไปแล้วค่อยตีให้เป็นเนื้อเดียวกัน เติมน้ำ(water)ตามความเหมาะสม
-ตักใส่ถ้วย(stove)เล็กเพื่อนที่จะนำไปใส่เครื่องทำขนม
 -ทาเนย (butter)แล้วเทแป้งลงไปข้างละ 1 ถ้วย(cup) ถึง 1 ถ้วย(cup)ครึ่ง
 -มื่อถึงเวลาก็นำออกจากเครื่องใส่จาน (plate)แล้วทานได้เลย

การนำไปประยุกต์ใช้
1. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆ
2. สามารนำกิจกรรมไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง
3. นำเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยผ่านกิจกรรมต่างๆ

เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
1. การค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง
2. การใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นสื่อในการเรียนการสอน
3. การใช้คำถามเพื่อให้เกิดกระบวนการคิด


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 13 วันที่ 13 พฤศจิกายน  2557

  ความรู้ที่ได้รับในการเรียน
การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการนำเสนองานวิจัย เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีผลงานวิจัยที่เพื่อนออกมานำเสนอต่อไปนี้
-เด็กขาดทักษะการสังเกต จากการตอบคำถาม จึงเกิดวิจัยเรื่องนี้ขึ้นมา
-ใช้เกมการศึกษา  
1.จับคู่ภาพเหมือน
2.จับคู่เงา
3.เกมการสังเกต
4.ภาพตัดต่อ
    
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์
- ใช้กิจกรรมการทดลองหลังจากฟังนิทาน
เครื่องมือ
- แผนการจัดกิจกรรม
- แบบทดสอบ

-  ศึกษาเด็กปฐมวัยที่เรียนรู้แบบนักวิจัย
ศึกษาเด็กปฐมวัยที่เรียนรู้แบบนักวิจัยก่อนทดลองและหลังทดลอง

- สอนในชั่วโมงเสริมประสบการณ์
-สีที่ได้มาจากธรรมชาติ
-สอนจากแผนการจัดประสบการณ์
-ได้รับทักษะการสังเกต การจำแนก  มิติสัมพันธ์  การลงความเห็น

 5. งานวิจัยเรื่อง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่มุ่งเน้นกระบวนการและปกติ
 มุ่งเน้นกระบวน
-  เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติทุกขั้นตอนโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
-เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมและการเตรียมอุปกรณ์ทุกขั้นตอน
 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์   
-การสังเกต
-การจำแนก
-การวัดปริมาณ
-มิติสัมพันธ์
-  การลงความเห็น

- เด็กบอกลายละเอียดได้
-การใช้เหตุผล
-การวิเคราะห์
-คิดความเหมือนความต่าง
-การสังเกต
-เด็กเป็นผู้ทดลองเองลงมือปฏิบัติ
-ให้เด็กได้ลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
-หลังจากการทดลองเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรมโดยครูใช้คำถามเชื่อมโยง

เครื่องมือที่ใช้
- แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
-  แบบทดสอบ 4 แบบ มีรูปภาพเสมือนจริง
-หลังจากการทดลองครูให้เด็กทำแบบทดสอบ ผลปรากฏว่าหลังการทดลองเด็กมีความสามารถทางด้านความคิดอย่างมีเหตุผลอย่างเห็นได้ชัด

สรุปความรู้ที่ได้จากการนำเสนองานวิจัย
1. ได้รู้ถึงรูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
2.  มีแนวทางในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3. สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้จริง  
4. มีการวางแผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่หลากหลาย

การนำไปประยุกต์ใช้
1.  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในรายวิชาอื่นๆ
2. สามารนำกิจกรรมไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง
3. นำเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยผ่านกิจกรรมต่างๆ
4. หากครูจะส่งเสริมพัฒนาการในด้านใดของเด็กสามารถนำกิจกรรมจากงานวิจัยมาจัดกิจกรรมสำหรับเด็กได้

เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
1. การค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง
2. การใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นสื่อในการเรียนการสอน
3. การใช้คำถามเพื่อให้เกิดกระบวนการคิด