วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
 ครั้งที่ 4 วันที่ 11 กันยายน 2557

เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

สรุปเป็น Mind Map ได้ดั้งนี้




ความรู้ที่ได้รับ
       ความหมายของวิทยาศาสตร์
                  การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยวิธีการทักษะกระบวนการและเจตคติทางวิทยา ศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผนมีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
  • คุณลักษณะตามวัย > พัฒนาการ > สมอง
  • ธรรมชาติของเด็ก คือ เด็กจะสนใจสิ่งรอบตัว
  • มาตราฐาน คือ เกณฑ์ขั้นต่ำ
                 ครูไม่ควรสอนเนื้อหามาก ควรสอนแบบเรียนรู้ตามธรรมชาติ  การเล่น คือ การเรียนรู้
      เกณฑ์ในการจำแนก 
            -  รูปร่าง
            -  ขนาด
  • แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
            -  การเปลี่ยนแปลง
            -  ความแตกต่าง
  • การปรับตัว
           ความรู้ใหม่ > ความรู้เดิม = ความรู้ใหม่
  • การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
           -  ขั้นกำหนดปัญหา
           -  ขั้นตั้งสมมติฐาน
           -  ขั้นรวบรวมข้อมูล
           -  ขั้นลงข้อสรุปการ
  • เจตคติทางวิทยาศาสตร์
           -  ความอยากรู้อยากเห็น
           -  ความเพียรพยายาม
           -  ความมีเหตุผล
           -  ความซื่อสัตย์
           -  ความมีระเบียบรอบคอบ
           -  ความใจกว้าง
  • ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
          -  ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
                 >  ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก
                 >  พัฒนาทักษะทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
                 >  เสริมสร้างประสบการณ์
                 >   ฯลฯ 
        
           -  ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
                 >   พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
                 >   พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
                 >   สร้างความเชื่อมั่นใจตนเอง
                 >   ฯลฯ 
 การนำไปประยุกต์ใช้
 1. สามารถฝึกให้เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิาภาพ
2. สามารถนำแนวคิดพื้นฐานวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ในการเรียนเพื่อนำมาเป็นความรู้เพื่มเติม

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
 ครั้งที่ 3 วันที่ 4 กันยายน 2557
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 

สรุปเป็น Mind Map ได้ดังนี้



ความรู้ที่ได้รับ
                    พัฒนาการ หมายถึง พฤติกรรมที่เปลี่นแปลงไปตามลำดับขั้นตอน อย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งเป็น 4 ด้านดังนี้
พัฒนาการด้านร่างกาย ได้แก่     การเคลื่อนไหว (ประสาทสัมผัสทั้ง 5)
                                                     สุขภาพอนามัย
พัฒนาการด้านอารมณ์ ไดแก่     การแสดงออก

                                                     การรับรู้
พัฒนาการด้านสังคม ได้แก่       การช่วยเหลือตนเอง
                                                     การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
พัฒนาการด้านสติปัญญา ได้แก่    ภาษา
                                                        การคิด แบ่งเป็น การคิดเชิงสร้างสรรค์การคิดเชิงเหตุผล                                                                           (วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์)

           เฟรอเบล ได้รับการขนานนามว่า "บิดาการศึกษาปฐมวัย" โดย การพัฒนาโรงเรียนแห่งแรกขึ้นที่ประเทศเยอรมันนี เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอนที่เรียนว่า "ชุดอุปกณ์" และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียนว่า "การงานอาชีพ" 
           เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงามมาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียนโดยเฉพาะ ประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น

การนำไปประยุกต์ใช้
        จากการเรียนในวันนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน หรือจัดกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับวัยของเด็กในแต่ละช่วงและพัฒนาการของเด็กได้เป็นอย่างดี






บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

  บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 2 วันที่ 28 สิงหาคม 2557
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

สรุปเป็น Mind Map ได้ดังนี้



ความรู้ที่ได้รับ
  • เด็กปฐมวัย
          - พัฒนาการ
          - การเรียนรู้
          - การอบรมเลี้ยงดู
  • พัฒนาการด้านสติปัญญาแบ่งได้ 2 ด้านดังนี้
          - การคิด ได้แก่   ความคิดเชิงเหตุผล คือ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
                                     ความคิดเชิงสร้างสรรค์
          - ภาษา
  • พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และภาษา พัฒนาการสามารถบอกความสามารถของเด็ก เพื่อจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก พัฒนาการจะเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
  • วิธีที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ คือ การเล่น
  การเล่น คือ การที่เด็กลงมือทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง  อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่สำคัญคือเด็กได้มีโอกาสเลือกเล่นด้วยตนเอง
  • การจัดการเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมให้สอกคล้องกับการเรียนรู้
  วิทยาศาสตร์ คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัว ความพยายามติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้ อยากเห็น ช่างสังเกต และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆจะช่วยเชื่อมโยงเซลล์สมองของเด็ก เพราะส่งเสริมให้เด็กไดคิดเป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นใน วัยที่สูงขึ้น 
  สรุป วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งต่างๆรอบตัว
  • หากผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก
จะเกิดการปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็ก
ไม่สนใจการค้นพบของเด็ก
ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก

การนำไปประยุกต์ใช้
      สามารถนำวามรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้การเลือกจัดกิจกรรมให้เหมาะสมตามวัยและ พัฒนาการของเด็ก และหากประกอบวิชาชีพครูในอนาคตได้




บันทึกอนุทินครั้งที่ 1




      บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
 ครั้งที่ 1     วันที่ 21 สิงหาคม 2557 
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20.

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ได้อธิบายแนวการเรียนการสอน
      ผลลัพธ์การเรียนรู้ แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่
-ด้านคุณธรรมจริยธรรม                  
-ด้านความรู้ 
-ด้านทักษะทางปัญญา
-ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ
-ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 
-ด้านการจัดการเรียนรู้ 
       องค์ประกอบของบล็อก ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
          1. ชื่อ และคำอธิบายบล็อก 
          2. รูป และข้อมูลผู้เรียน
          3. ปฏิทิน และนาฬิกา
          4. เชื่อมโยงบล็อก
                - อาจารย์ผู้สอน
                -หน่วยงานสนับสนุน 
                -แนวการสอน
                - งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ 
                - บทความ
                - เพลง
                - สื่อ
                - สถิติผู้เข้าชม
                - รายชื่อเพื่อน 
  การนำไปประยุกต์ใช้  
-สามารถนำวิธีการทำบล็อก การใส่องค์ประกอบต่างๆของบล็อก ไปใช้ในการบันทึกความรู้ หรือข้อมูลต่างๆ 
-สามารถนำมาใช้ในรายวิชาอื่นได้อีกด้วย 
-นำวิธีการสอนไปใช้กับเด็กได้ เช่น มีการใช้คำถาม ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเรียน 
-สามารถนำทักษะภาษาอังกฤษมาใช้ในการศึกษา เพราะประเทศไทยเราด้อยเรื่องภาษาอังกฤษส่วนใหญ่
-สามารถใช้เทคโนโลยีในการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ เพราะสามาทำได้หลายรูปแบบ