วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 7 วันที่ 2 ตุลาคม 2557

เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

สรุปเป็น Mind Map ได้ดังนี้


กิจกรรมในวันนี้

ชื่อกิจกรรม : ไต่ขึ้น ไต่ลง
อุปกรณ์      :   กระดาษ (Paper)
                        ดินสอ  (Pencil)
                        สี (Colour)
                        กรรไกร (Scissors)
                        กาว (Glue)
                        แกนทิชชู่ 
                        ไหมพรม(Yarn)
                        ที่เจาะกระดาษ

 ขั้นตอนการทำ

      1.      ตัดกระดาษรูปวงกลม

      2.      วาดภาพระายสีตามจินตนาการ

     3.        ตัดครึ้งแกนทิชชู่

     4.        ใช้ที่เจาะกระดาษ เจาะแกนทิชชู่ ทั้ง 2 มุม จำนวน 4 รู

     5.        ทากาวที่กระดาษวงกลม แปะติดกับแกนทิชชู่ จากนั้น

     ร้อยเชือกใส่ในรูที่เจาะไว้ พร้อมผูกปมเชือกให้เรียบร้อย

วิธีการเล่น
  •       ใส่คล้องคอ แล้วใช้มือดึงเชือกทั้งซ้าย และขวา 
  •        จะเกิดการเปลี่ยนแปลง คือแกนทิชชู่จะไต่ขึ้นใต่ลงได้ 

 การนำไปประยุกต์ใช้
        
       ·         สามารถจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในเรื่องที่เด็กสนใจ

·         สอนให้เด็กได้คิด และค้นหาคำตอบ ด้วยตนเอง โดยการประดิษฐ์ หรือการทดลอง

·         ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ คือเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

·         จัดการสอนในรูปแบบการสืบเสาะหาความรู้

·         จัดการเรียนการสอนให้เด็กได้เรียนจากประสบการณ์จริง


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 6 วันที่ 25 กันยายน 2557
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

สรุปเป็น Mind Map ได้ดังนี้



ชื่อกิจกรรม :  ร่อนลงมา นะเจ้ากระดาษน้อย  (Paper down glider)
อุปกรณ์       :  1. กระดาษสี่รูปเหลี่ยมผืนผ้า  (Rectangle paper)
                        2.  กรรไกร (Scissors)
                        3. คลิปหนีบกระดาษ (Paper clip)
ขั้นตอนการทำ
1. ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Cut a rectangle of paper)
2. พับครึ่งกระดาษตามแนวตั้ง (Fold the paper vertically)
3. ตัดปลายกระดาษเข้าด้านใน จนถึงครึ่งหนึ่งของครึ่งที่ตัดไว้
    (Cutting edges inward So far, half of the half to cut them)
4. พับปลายกระดาษฝั่งตรงกันข้าม โดยพับเข้ามาเล็กน้อย
    (Fold opposite edges)
5. ติดคลิปหนีบกระดาษตรงส่วนปลายกระดาษที่พับเข้า
    (The paper clip at the end of the folded paper)
6. ตกแต่งตามจินตนาการ (Imagination to decorate)
 สิ่งที่เด็กได้รับ
1.       เรียนรู้เรื่องแรงโน้มถ่วง (Gravitation)
2.       เรียนรู้เรื่องแรงต้านทาน (Resistance)
3.       เรียนรู้วิธีการโยน และลักษณะการร่อนลง
4.        ทดลอง และเปรียบเทียบสิ่งประดิษฐ์ที่ตนเองทำขึ้น
5.        เด็กได้ใช้ความคิดทั้งเชิงเหตุผล และเชิงสร้างสรรค์
6.        เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือปฏิบัติจริง
7.        ได้เล่นร่วมกับเพื่อนๆ อย่างอิสระ
8.         กล้าคิด กล้าทำ และภาคภูมิในในผลงานของตนเอง
9.         สร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวเด็ก
การนำไปประยุกต์ใช้
>>> สามารถสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ได้โดยต่อยอดจากประสบการณ์
        หรือความรู้เดิม
>>> นำไปสอนการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นโดยใช้
        ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือปฏิบัติจริง
>>> การใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นความคิดของเด็ก 
>>> จัดทำแผนการสอน จากการทำ Mind map หน่วยการเรียนรู้เพื่อจัดการเรียนการสอน
        ให้แก่เด็กอย่างมีประสิทธิภาพ

ความลับของแสง

สรุป เรื่อง "ความลับของแสง"

นิทานถือเป็นสื่อช่วยสอนให้เด็กมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์  และจะช่วยฝึกทักษะทางภาษามากกว่า 1 ภาษา เนื่องจาก นิทานบางเรื่องมี 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ นิทานในรูปแบบปัจจุบันมีภาพที่เสมือนจริง ซึ่งจะช่วยให้เป็นสื่อการเรียนรู้ได้ดี

แสง 
แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก มีความเร็วถึง 300000 กิโลเมตร/วินาที แสงจะช่วยให้มองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว ถ้าหากรอบตัวไม่มีแสงก็จะไม่สามารถมองเห็นวัตถุต่างๆได้ 

คุณสมบัติของแสง 
     การทดลองที่1
 อุปกรณ์           1.กล่องใบใหญ่มีฝาปิด เจาะรูข้างๆกล่อง
                        2.อุปกรณ์ของต่างๆ เช่น ตุ๊กตา
 วิธีการทดลอง  1. นำกล่องใบใหญ่มีฝาปิด เจาะรูข้างๆกล่อง นำของต่างๆมาใส่กล่อง เช่น ตุ๊กตาจากนั้นปิดฝากล่อง แล้วมองผ่านรูที่เจาะจะไม่สามารถมองเห็น ตุ๊กตาเนื่องจากด้านในกล่องมีความมืดสนิท ค่อยๆเปิดฝากล่อง แล้วเจาะรูเพิ่ม เอาไฟฉายส่องไปในรูที่เจาะใหม่ จะเห็นของในกล่อง
            แสดงว่าเราจะสามารถมองเห็นวัตถุในกล่องได้ เพราะมีแสงส่องโดนวัตถุและแสงสะท้อนกระทบกับวัตถุเข้ามาที่ตาของเรา จึงสามารถมองเห็นวัตถุได้
การทดลองที่ 2 
อุปกรณ์            1.กระดาษสีดำ เจาะรูตรงกลางให้เท่ากัน 2 แผ่น
วิธีการทดลอง   1.เปิดไฟในห้องมืด นำกระดาษแผ่นแรกวางคั่นแสงกับพื้นห้อง จะเห็นเพียงแสงที่ผ่านรูเท่านั้น แล้วลองเอาแผ่นที่ 2 ทับก็จะเห็นเพียงแสงที่ผ่านรูเหมือนกัน
การทดลองที่ 3 
อุปกรณ์          1. กล่องกระดาษเจาะรูข้างกล่อง
                       2.ภาพต้นแบบ
วิธีการทดลอง 1.ส่องไฟจากภาพต้นแบบให้แสงผ่านรูเล็กๆ ภาพจะปรากฏบนกระดาษไข แล้วลองปรับภาพต้นแบบให้เลื่อนเข้า เลื่อนออก จะทำให้เกิดภาพเล็กภาพใหญ่ แต่จะเห็นเป็นภาพกลับหัวเพราะแสงวิ่งเป็นเส้นตรงตกกระทบด้านล่าง แล้วสะท้อนกลับด้านบนทำให้ภาพเป็นภาพกลับหัว             
จากการทดลองแสดงว่า คุณสมบัติของแสง คือ แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง ไปกระทบกับวัตถุและสะท้อนจากวัตถุเป็นเส้นตรงเหมือนกัน

การสะท้อนของแสง 

การทดลองที่1
อุปกรณ์      1. ไฟฉาย
                  2. กระจกเงา
การทดลอง 1. วางกระจกไว้ที่พื้น ฉายไฟฉายลงบนกระจกเงา แสงจะสะท้อนกลับมาเป็นแนวเส้นตรง เมื่อลองเปลี่ยนทิศทาง คือ หันแสงไปทางอื่นแสงจะสะท้อนไปทางตรงกันข้ามเสมอ เพราะลำแสงที่สะท้อนไปจะเป็นมุมที่เท่ากับมุมสะท้อนกลับ
การทดลองที่2 เรียกการทดลองนี้ว่า กระจกฮาไรโดสโคป
อุปกรณ์      1. กระจกเงา 3 บาน
                  2. ภาพ
การทดลอง 1. นำกระจกเงา 3 บานมาติดกันให้เป็นสามเหลี่ยม เมื่อส่องภาพเข้าไปจะเกิดภาพมากมายเนื่องจาก การสะท้อนแสงและมุมกระจกจะทำให้เกิดภาพการหักเหของแสง คือ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงเช่น การฉายแสงผ่านน้ำ ถ้าเป็นเส้นตรง แสงก็จะตรง ถ้าฉายแสงเฉียงแสงก็จะเฉียงตาม เนื่องจากน้ำมีความหนาแน่นมาก ทำให้แสงเคลื่อนที่ช้าการหักเหของแสงจะเดินทางจากมวลอากาศมาก ไปสู่มวลอากาศที่น้อย จึงเกิดการหักเห การทดลอง  อ่านหนังสือผ่านแก้วที่ใส่น้ำจนเต็ม จะพบว่าการหักเหของแสงจะกระจายออกทำให้ตัวหนังสือที่เห็นใหญ่ขึ้น
การทดลองการหักเหของแสงโดยผ่านการทดลองที่เรียกว่า รุ้งกินน้ำ
     การทดลองที่ 1 นำน้ำใส่อ่างแก้ว ประมาณครึ่งอ่าง นำกระจกเล็กๆจุ่มลงไปเฉียงทำมุมขึ้นมา แล้วจะเห็นการสะท้อนขึ้นมาเป็นสีรุ้งกินน้ำ
    การทดลองที่ 2 หันหลังให้ดวงอาทิตย์ แล้วฉีดน้ำ จากนั้นสังเกตจากละอองน้ำ รุ้งกินน้ำจะเกิดตรงข้ามกับพระอาทิตย์เนื่องมาจากการหักเหของละอองน้ำ
    คุณสมบัติ วัตถุแต่ละชนิดจะดูดคลื่นแสง สะท้อนกับวัตถุทำให้เห็นสีต่างๆ
เงา     เป็นสิ่งที่คู่กับแสง เพราะเงาจะตรงกันข้ามกับแสง
การทดลอง ส่องไฟตรงกับวัตถุจะเกิดเงาดำๆ บนพื้นที่วางวัตถุไว้ เป็นรูปวัตถุนั้นๆถ้าส่องตรงกับวัตถุเงาที่สะท้อนจะเป็น 2 เงา เนื่องจากแสงเดินทางผ่านเป็นเส้นตรงดูดกลืนแสงวัตถุมา เงาจะเกิดทุกครั้งที่มีวัตถุมาขวางทางเดินของแสง




บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
 ครั้งที่ 5 วันที่ 19 กันยายน 2557
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 

ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

                           ก่อนเข้าสู่การเรียน อาจารย์เอาภาพ 1 ภาพมานักศึกษาให้ดูก่อนและอาจารย์บอกว่าให้วาดรูปภาพที่สอดคล้องกันให้อยู่ในระดับเดียวกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และดิฉันก็ได้วาดรูปด้านหนึ่งเป็นกระถางและ อีกด้านหนึ่งเป็นดอกไม้ 

สื่อหมุนๆรวมภาพ
            อุปกรณ์ในการทำ 
  •  กระดาษทรงสี่เหลื่อมผืนผ้า        
  • กรรไกร (Scissors)           
  •  เทปกาว (Tape)         
  • ไม้เสียบลูกชิ้น
  •   ดินสอ (pencil)
  •  สี (color)

           
      วิธีการทำ
1.      ตัดกระดาษเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยตัดเป็น 1 ส่วน 4 ของกระดาษ A4
2.      พับครึ่งกระดาษเพื่อที่จะได้วาดรูป 
3.      วาดภาพที่สัมพันธ์กันลงไปทั้งสองด้านของกระดาษ
4.      ใช้ไม้เสียบลูกชิ้นไว้ที่กึ่งกลางกระดาษแล้วเอาเทปกาวแปะให้แน่น จากนั้นก็นำเทปกาวมาแปะตรงมุมขอบกระดาษเพื่อที่จะได้ไม่หลุดเวลาหมุน


      สรุปจากการทำสื่อหมุนๆรวมภาพ

              เมื่อทำสื่อชิ้นนี้เสร็จเรียนร้อยดิฉันก็ได้สังเกตุทั้งสองด้าน และได้ลองหมุนดูผลปรากฎว่าภาพทับซ้อนกันซึ่งแตกต่างจากของเพื่อนที่เป็น เหมือนรูปเดียวกันเวลาหมุนไม้ จากภาพจะเห็นได้ว่าการวาดรูปอยู่กึ่งกลางกระดาษพอดี และรูปภาพมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกัน 
              จากกิจกรรมทำให้ดิฉันได้เกิดการเรียนรู้จากการลองผิด ลองถูก  จากการสอบถามเพื่อนบางคนที่สามารถทำสื่อชิ้นี้ออกมาได้สวยงามเพราะว่า เพื่อนมีประสบการณ์เดิมก่อนอยู่แล้วและบางคนได้ได้ทักษะการสังเกตุจากต้น ชั่วโมงที่อาจารย์ยกมาให้ดูเป็นตัวอย่าง
   
     ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำสื่อหมุนๆรวมภาพ
1.      เกิดการเรียนรู้จากการที่เราทำไม่ถูกต้อง
2.      การที่จะทำสื่อวิทยาศาสตร์ต้องมีทักษะช่างสังเกตุมากกว่านี้และต้องคิดละเอียดรอบครอบผลงานจึงจะออกมาดี
3.      สามารถนำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
       
          การนำเสนอ บทความวิทยาศาสตร์ (Science Article)



     1. เด็กปฐมวัยเรียนรู้ " สะเต็มศึกษา" 
ผ่านโครงงานปฐมวัย (Childhood Project)

    จัดโครงการโดย สสวท. จัดกิจกรรมขึ้นเพื่อให้ เด็กได้รู้จักการแก้ปัญหา 

    (Learning to solve a problem) 
และการแสวงหาความรู้(Seek knowledge )


     คำว่า " STEM " มาจาก  S > Science
                                              T >Technology
                                               E > Engineer
                                               M > Math
    
แนวคิด 

1. ครูเน้นการบูรณาการ

2. ครูเน้นการเชื่อโยงกับเนื้อหา

3. พัฒนาทักษะ

4. ท้าทายความสามารถ

5. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น
     
         2. เด็กปฐมวัยไขคำตอในวันวิทยาศาสตร์น้อย ในหัวข้อ
              " โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร" 
                        จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2556
·       เน้นการสร้างประสบการณ์ (Experience) และการเรียนรู้ (Learning)
·       กระตุ้นการเรียนรู้ และค้นหาคำตอบไปพร้อมกัน (Solve)
·       ปลูกฝังวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
·       สอนให้เด็กตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร อย่างยั่งยืน


  3. บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์
 พ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง จัดค่ายวิทยาศาสตร์ 

เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้
และปลูกฝังการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก 

ซึ่งเด็กปฐมวัยเป็นช่วงแห่งการเรียนรู้
 เด็กได้สังเกตค้นหาคำตอบในสิ่งที่ตนเองอยากรู้ 

ด้วยการทดลองทางวิทยาศาสตร์
 รู้จักการแก้ปัญหาด้วยตนเองทำให้เด็กรักในการเรียนวิทยาศาสตร์


   
การนำไปประยุกต์ใช้
     ·     สามารถจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในเรื่องที่เด็กสนใจ   
     ·     สอนให้เด็กได้คิด และค้นหาคำตอบ ด้วยตนเอง โดยการประดิษฐ์หรือการทดลอง
     ·     สามารถศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตนเองโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง 
     ·   ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ คือเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง
     ·      สามารถนำการถามโดยใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก เพื่อการคิด และเข้าใจที่ถูกต้อง