วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ

“STEM” คืออะไร

ผศ.ดร.ชลาธิป  สมาหิโต  ได้ให้คำจำกัดความของ STEM ไว้ว่า  เป็นการจัดการศึกาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี   วิศวกรรมศาสตร์  และคณิตศาสตร์  โดยนำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละวิชามาผสมผสานปละจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน  ซึ่งชื่อของ “STEM” เกิดจากการย่อชื่ออักษรตัวแรกของ  4  สาระวิชาเข้าด้วยกันคือ
                1.Science หมายถึง  วิทยาศาสตร์
                2.Technology  หมายถึง  เทคโนโลยี
                3.Engineering  หมายถึง  วิศวกรรมศาสตร์
                4.Mathematic  หมายถึง  คณิตศาสตร์

                สรุปแล้ว STEM กำเนิดขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาศักยภาพทั้ง 4 ด้านของเด็กให้มีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การพัฒนาความรู้ในระดับสูงขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันกันในสังคมเศรษฐกิจของประเทศและเป็นการต่อยอดโอกาสในการเรียนรู้ หรือการทำงานของประชากรในอนาคตต่อไป

                ดังนั้นการบูรณาการเรื่อง STEM  สู่การเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยจึงไม่ใช่เรื่องยากเพียงแค่ครูจัดกิจกรรมหรือสร้างสถานการณ์ต่างๆแล้วกำหนดปัญหาขึ้นมาให้เด็กได้ฝึกฝนการแก้ปัหา  เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้คิด  ได้แสดงความสามารถที่หลากหลาย  หากผลการทลองหรือการแก้ปัญหาที่เด็กค้นพบนั้นยังไม่ถูกต้องตามที่ครูกำหนดไว้ ครูควรให้เด็กได้ทดลองหรือปฏิบัติซ้ำเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง โดยครั้งนี้ครูอาแนะนำหาความรู้เพิ่มเติมให้แก่แก่เด็ก เพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น  นอกจากนี้ครูยังสามารถนำ STEM มายูรณาการกับทักษะในด้านอื่นๆ ได้อีก เช่น การจัดการศึกษาแบบ STEM Education ที่มีการนำ STEM มาบูรณาการกับทั้กษะทางศิลปะ  เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้นๆให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น

                ด้วยเหตุนี้ “STEM Education”  จึงเป็นการศึกษาที่เหมาะกับการเรียนการสอนของเด็กยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ด้วยเนื้อหาที่มีความแปลกใหม่ และเป็นการบูรณาการสาขาวิชาแนงต่างๆเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว จึงไม่น่าแปลกที่ “STEM Education” จะเป็นการศึกากระแสใหม่ที่กำลังมาแรงของวงการการศึกษาในบ้านเรา

สรุปวิจัย

ชื่อวิจัย   การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปบมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ชื่อผู้แต่ง  นางณัฐชุดา  สาครเจริญ

ต้องการพัฒนาอะไร
ต้องการพัฒนาการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปบมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ขั้นตอนการทำ 
1.ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยกำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสามเสนนอก  (ประชาราษฎร์อนุกูล)   (Pretest) ก่อนการทดลอง
2.ผู้วิจัยทำการดำเนินการทดลองในกิจกรรมเสริมประสบการณ์
3.เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการประเมินทักาะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย (Posttest) หลังเสร็จสิ้นการทดลองโดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่ใช้ในการทดสอบก่อนการทดลอง
4.นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยมาตรวจให้คะแนนและนำไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติต่อไป                      

ผลที่ได้รับ

 การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้โดยรวมและการจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับดี และเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองพบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01





สรุปโทรทัศน์ครู
เรื่อง การกำเนิดของเสียง

โรงเรียนดาราคาม

ครู สง่า  ทรัพย์เฮง

-ขั้นตอนการสอน

การสอนของครูสง่า เป็นการจัดกิจกรรมการทดลอง คือ ครูสง่านำแท่งโลหะ 2 แท่ง  และช้อนซ้อน 2 อัน มาให้นักเรียนสลับกันเคาะ หลังจากนั้นก็ฝึกให้นักเรียนมีได้ฟัง ได้สังเกต และได้คิด โดยให้นักเรียนฝึกตอบคำถาม ว่ามีเสียงที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร และเสียงมาจากแหล่งไหนได้บ้าง

-สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้

เด็กได้ทราบถึงการกำเนิดของเสียง คือเสียงเกิดจากการสั่นของมวลเนื้อวัตถุ  เมื่อมวลเนื้อวัตถุถูกเคาะแล้วเกิดการสั่นสะเทือนจึงทำให้เกิดเสียงออกมาให้ได้ยิน จากการทดลองนี้เด็กได้ประสบการณ์เกี่ยวกับทักษะทางวิทยาศาสตร์ คือได้ทดลองรู้จักคิด  ฟัง และสังเกต ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปปรับประยุกต์ใช้ได้จริงได้ในชีวิตประจำวันได้

-สิ่งที่เด็กได้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ได้ทักษะการฟัง
ได้ทักษะการคิด
ได้ทักษะการสังเกต
ได้ทักษะการทดลองและการตอบคำถาม